จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

Drift

DRIFT  หมายถึง ความต่างของมุมการไถลระหว่างยางหน้าและหลังของรถ เมื่อล้อหลังลื่นไถลด้วยมุมที่มากกว่าล้อหน้า นั่นคือรถกำลังดริฟท์อยู่ หรือคือการโอเวอร์สเตียร์ ด้านท้ายของรถจะกวาดออกตลอดโค้ง คนขับจะใช้ประโยชน์จากยางหน้าและหลัง เพื่อควบคุมรถให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ยิ่งเดินคันเร่งก็จะยิ่งเพิ่มมุมการไถลของล้อหลังทำใ ห้ท้ายยิ่งกวาดจนแทบจะหมุนเลยทีเดียว ประเด็นก็คือเพื่อให้คนขับสามารถใช้พวงมาลัยและคันเร่งในการทำให้มุมของรถและทิศทางที่รถกำลังมุ่งไปสมดุล กัน 




การดริฟท์คือสไตล์การขับที่ต้องทำโอเวอร์สเตียร์เข้า หาโค้ง และผ่านโค้งนั้นไป โดยปกตินั้นจะ
สามารถทำได้ด้วยรถที่เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง เพราะลักษณะการถ่ายกำลังและการถ่าย
เทน้ำหนักของมัน เหมาะสมสุดๆ สำหรับการนี้โดยเฉพาะ การดริฟท์อาจจะใช้เพื่อความสนุก ซึ่งมี
จุดประสงค์ที่ว่าผสมผสานระหว่างความสนุกกับการ เสริมทักษะในการควบคุมรถ หรือใช้ในการ
แข่งก็ได้ การแข่งดริฟท์ เป็นการแข่งที่ดูจากสไตล์มากกว่าความเร็วที่วิ่งได้ต่อรอบ หรือ ตำแหน่ง
ตอนเข้าเส้นชัย เกณฑ์การตัดสินหลัก ๆ จะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยได้แก่ 
1. มุมการเข้าโค้ง 
2. ไลน์ 
3. ความเร็ว 
4. ลูกเล่นหรือสไตล์ 

การดริฟท์ไม่ใช่วิธีที่ทำให้ไปได้เร็วที่สุดในสนามแข่ง แต่การดริฟท์จะมีประโยชน์มากอย่างเช่นใน

การแข่งแรลลี่แต่ในการแข่งเซอร์กิตนั้น การดริฟท์จะทำให้รถไปได้ช้ากว่าการใช้เทคนิคธรรมดา 

ประวัติ 

การดริฟท์มีต้นกำเนิดมาจากพวกนักแข่งตามถนนบนภูเขาแถบชนบทของประเทศญี่ปุ่น เป็น

การแข่งบนถนนบนภูเขา (เรียกว่า โทเกะ) จนในที่สุดก็พัฒนามาเป็นรายการแข่งที่ต้องใช้ทุน 
และการโฆษณาต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและอนุมัติโดยองกรณ์ และจัดแข่งตามสนามแข่ง
เอกชนต่าง ๆ การ ดริฟท์ในสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นรายการแข่งที่จัด ณ 
สนามแข่ง Willow Springs, California จัดขึ้นโดย นิตรยสาร Option แต่มันก็ไม่ได้รับความนิยม
จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 2002 นักดริฟท์ชาวญี่ปุ่นก็ยังคงถือว่าเป็นผู้นำในด้านเทคนิค และ
การปรับปรุงรถ แต่พวกอเมริกันเองก็พัฒนาตัวเองและตามขึ้นมาอย่างรวด เร็ว 






หลาย ๆ เทคนิคซึ่งใช้กันในปัจจุบันในการดริฟท์นั้นถูกพัฒนาข ึ้นโดยเหล่านักแข่งแรลลี่บนทางวิบาก ทางฝุ่น หรือแม้แต่บนหิมะ บนพื้นผิวถนนเช่นนั้น วิธีที่จะเข้าโค้งได้เร็วที่สุดก็คือการสไลด์ 
ณ ปัจจุบัน 
ตามข่าวลือนั้น Keiichi Tsuchiya เมื่อตอนแข่งรถอยู่ และอยู่ในอันดับรั้งท้าย เขาตัดสินใจที่จะเหวี่ยงรถผ่านโค้ง ทำให้เหล่าฝูงชนรู้สึกตกตะลึงและรู้สึกประหลาดใจไปตาม ๆ กัน ภายหลัง Tsuchiya เรียกมันว่า “การดริฟท์” ในขณะที่นี่อาจไม่ใช่ต้นกำเนิดของมัน แต่มันก็เป็นที่มาของชื่อและการแสดงให้คนอื่นเห็นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1977 Keiichi เริ่มต้นอาชีพการแข่งของเค้าด้วยการขับรถหลายคัน ในการแข่งระดับมือสมัครเล่นรายการต่าง ๆ การแข่งในรถที่ไม่ค่อยมีกำลังแบบนี้ค่อนข้างยาก แต่ก็ทำให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี ต่อมา Keiichi ก็มีโอกาสได้ขับรถ Toyota AE86 Sprinter Trueno ซึ่งมีสปอนเซอร์หลักคือ ADVAN ในหลาย ๆ การแข่ง ในขณะที่เข้าโค้งขาลง เขาจะดริฟท์รถของเค้า และทำให้ได้ความเร็วขณะเข้าโค้งมากกว่าคู่แข่งคนอื่น ๆ ของเค้า เทคนิคนี้ ทำให้เค้าได้รับการขนานนามว่าเป็น Drift King ไม่ใช่เพราะอย่างที่หลายคนเข้าใจว่าเค้าเป็นคนแรกที่ ดริฟท์
ในปัจจุบันนี้ การดริฟท์ได้มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นกีฬา ซึ่งนักขับต้องแข่งกันในรถที่มีระบบขับเคลื่อนล้อหลั ง เพื่อสไลด์ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการแข่งระดับสูง โดยเฉพาะการแข่ง D1 Grand Prix ในประเทศญี่ปุ่น ในสหราชอาณาจักร และในสหรัฐอเมริกา นักขับสามารถที่จะทำให้รถของเค้าสไลด์อยู่ได้นาน และสไลด์ผ่านโค้งหลาย ๆ โค้งติด ๆ กันได้ การแข่งดริฟท์นั้นไม่ได้ตัดสินจากการที่ดูว่าใช้เวลา เท่าไหร่ในการวิ่งวนครบรอบสนาม แต่ดูจากการเข้าไลน์ มุม ความเร็ว และปัจจัยในการแสดง ไลน์ เกี่ยวกับการเข้าให้ถูกไลน์ ซึ่งโดยปกติจะถูกกำหนดและบอกไว้ก่อนโดยกรรมการ มุม คือมุมของรถในตอนดริฟท์ ยิ่งมากยิ่งดี ความเร็ว คือความเร็วตอนเข้าโค้ง ตอนผ่านโค้ง และตอนออกจากโค้งไปแล้ว ยิ่งเร็วยิ่งดี ปัจจัยการแสดงนั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง เช่น จำนวนของควันยาง รถเฉียดกำแพงมากขนาดไหน มันขึ้นอยู่กับว่าทุกอย่างดู “เจ๋ง” ขนาดไหน ในรอบสุดท้ายของการแข่งมักจะเป็นการแข่งของรถดริฟท์ส องคันซึ่งเรียกเล่น ๆ กันว่า “tsuiso” (การวิ่งไล่กัน) ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคือการที่รถคันนึงไล่รถอีกคันนึงในสนาม เพื่อพยายามที่จะไล่ให้ทัน หรือแม้แต่แซงรถคันข้างหน้า ในรอบ tsuiso นี้ มันไม่เกี่ยวกับไลน์ในการดริฟท์ แต่ขึ้นอยู่กับว่านักดริฟท์คนไหนดริฟท์ได้น่าตื่นตาต ื่นใจมากกว่ากัน โดยปกติแล้ว รถคันที่นำ จะทำมุมการดริฟท์แบบสุด ๆ แต่ก็ยังหัวชิดโค้งอยู่เพื่อบังกันไม่ให้โดนแซง รถคันที่ตามโดยปกติจะดริฟท์ด้วยมุมที่น้อย ๆ แต่จะใกล้กับคันหน้ามาก ๆ รถไม่จำเป็นต้องตามให้ทัน และในความเป็นจริงแล้วในบางกรณี รถที่ถูกทิ้งในทางตรงหากดริฟท์สวยก็จะชนะในรอบนั้นไป เลย การหมุน การอันเดอร์สเตียร์ หรือการชนกันนั้นจะส่งผลให้ตกรอบนั้นไปเลย 

2 ความคิดเห็น: